วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

เพ่งพิศ พินิจลายสลัก ปราสาทหินโบราณ พิมาย [ 5 ]



                     ในตอนนี้จะพาชมทับหลังและหน้าบันบริเวณภายนอกองค์ปราสาทประธานในส่วนที่เหลือกันครับ
                     หน้าบันด้านบนทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ยังคงสลักเรื่อง รามายณะ โดยมีลายสลักที่พอจะสังเกตุถาพบุคคลให้สัญนิษฐานได้ครับ เราจะสังเกตุเห็นการเผชิญหน้ากันของทั้งสองฝ่ายที่ประทับอยู่บนรถรบ ทางซ้ายคาดว่าเป็นฝั่งพระราม ทางด้านขวาเป็นภาพบุคคลที่หลายกรและหลายเศียรคู่กรณีของพระรามได้ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งก็คือคู่กรณีทศกัณฐ์ครับ ภาพบุคคลตรงกลางสังเกตุมีหลายหน้าหลายกรเช่นกัน ซึ่งก็คือ ท้าวมาลีวราช ซึ่งมีสี่หน้าแปดกร ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของทศกัณฐ์  ดังนั้นภาพสลักตอนนี้จึงคาดว่าเป็นตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ส่วนความอะไรนั้นก็เป็นการตัดสินว่านางสีดาควรจะอยู่กับใครนั่นเองครับ



                    ท้าวมาลีวราช มีความยุติธรรม เที่ยงตรง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ แม้จะเป็นปู่ทศกัณฐ์แต่ก็หาเข้าข้างทศกัณฐ์ไม่ โดยทศกัณฐ์เองได้ใส่ความพระรามต่างๆนานา อีกทั้งแต่งเรื่องว่าไปเจอนางสีดาเลยพามาด้วย  ท้าวมาลีวราชไม่ต้องการฟังความข้างเดียวจึงให้พระรามมาเล่าความทางฝ่ายตรง อีกทั้งให้นางสีดามาเล่าอีกด้วย และเห็นว่าเรื่องราวทางฝ่ายพระรามน่าจะเป็นความจริงจึงให้นางสีดาอยู่กับพระราม ทศกัณฑ์เหก็นดังนั้นจึงโวยวายว่าท้าวมาลีวราชว่าไปเข้าข้างศัตรู ไม่เข้าข้างตนซึ่งเป็นหลานน ท้าวมาลีวราชจึงก็พิโรธอย่างมาก และสาปให้ทศกัณฑ์ให้พ่ายแพ้พระรามทุกครั้งที่รบกัน



                   ทับหลังบนกรอบประตูด้านล่างปรากฎภาพบุคคลตรงกลาง เป็นรูปบุคคลยกขาขึ้นเหยียบลำตัวในขณะที่มือก็จับผมของบุคคลที่อยู่ทางด้านขวา  ด้านซ้ายมือมีภาพบุคคลนั่งโดยมีอีกคนนั่งตัก
                   ทับหลังชิ้นนี้มีการตีความแตกต่างกันออกไปครับ เพราะไปคล้ายกับเรื่องราวหลายเรื่อง ในรามายณะ มีการสันนิษฐานว่าอาจะตอนพระรามฆ่ายักษ์วิราธ เหตุเกิดตอนที่พระราม พระลักษณ์ค้องออกเดินป่าโดยมีนางสีดาเดินทางด้วย ยักษ์วิราธมาติดพัน หวังแย่างนางสีดา แต่ถูกพระรามเหยียบจมธรณีไป
                  ส่วนการตีความอีกลักษณะหนึ่งเป็นตอนพระกฤษณะสังหารพระยากงส์ ( นารายณ์อวตาร) ภาพสลักชิ้นนี้คล้ายกับภาพสลักที่ปราสาทบันทายศรี ที่กัมพูชาครับ เป็นตอนนพระกฤษณะสังหารพระยากงส์ ลองดูเปรียบเทียบกัน ส่วนการตีความอันไหนจะถูกคงบอกไม่ได้ชัดเจนครับ


                   ทับหลังเหนือกรอบประตูด้านทิศเหนือเป็นภาพบุคคลขนาดใหญ่มีสี่กร ซึ่งก็คือพระนารายณ์ สังเกตุได้จากมือที่ถือ คฑา สังข์ ดอกบัว และจักร ภาพบุคคลด้านข้างไม่สามารถระบุได้เป็นใคร


                    หน้าบันด้านทิศเหนือได้สูญเสียรายละเอียดไปมาก ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนเช่นเดียวกัน พอจะสังเกตุเห็นราชยานและมีบุคคลประทับบนนั้น ด้านขวามีภาพบุคคลเป็นสตรี สัณนิษฐานว่าอาจเป็นตอนใดตอนหนึ่งในรามายณะ  แต่ก็ไม่ทราบว่าตอนใด

                   มาดูหน้าบันและทับหลังส่วนสุดท้ายของมณฑปทางทิศตะวันออก  แสดงเรื่องราวรามายณะอีกเช่นกัน ตัวทับหลังเสียหายหักเป็นสองส่วน บริเวณตรงกลางจะสังเกตุเห็นภาพบุคคลนั่งอยู่บนเรือ ที่ลอยอยู่เหนือดอกบัว ในน้ำยังมีจรเข้และปลาอีกด้วยครับ สัณนิษฐานว่าบุคคลตรงกลางที่มีขาดใหญ่ที่สุดคือพระราม มีความเชื่อว่าเรื่องราวตอนนี้เกิดขึ้นหลังจากเสร็จศึกกรุงลงกา พระราม พระลักษณ์ และนางสีดาได้เดินทางกลับกรุงอโยธยา แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการตีความนี้นะครับ ด้วยเหตุที่ว่าในเรื่องราวของมหากาพย์รามยณะ มีการเขียนไว้ชัดเจนว่า พระราม พระลักษณ์ และนางสีดา ได้กลับกรุงอโยธยาโดยนั่งพรหมวิเศษเหาะกลับไป  ก็นั่งเรือกลับก็ดูเหมือนจะนานไม่ทันใจล่ะครับ



                  
                      ส่วนหน้าบันที่อยู่เหนือทับหลังชิ้นนี้เป็นภาพสลักของเหล่าเทพ คาดว่ามาอวยชัยพระรามหลังจากที่ชนะศึกกรุงลงกา ช่วยนางสีดา และฆ่าทศกัณฐ์ได้สำเร็จ เทพองค์กลาง คือพระอินทร์ ทรงช้างเอราวัน เศียรของช้างตรงกลางหายไปคงเหลือแต่ด้านซ้ายและขวา สังเกตุงวงช้างได้ครับ เทพที่อยู่ทางซ้ายของพระอินทร์คือพระพรหม ทรงหงส์ แต่หัวของหงส์ได้หายไป เทพทางขวาสุดคือพระนารายณ์ ทรงอยู่บนครุฑ หังของครุฑก็หายไปแล้วเช่นกัน ต้องจินตนาการกันสักหน่อย ส่วนเทพที่อยู่บนสุดคือพระศิวะและพระแม่อุมา นั่งอยู่บนโคนนทิ

                    มาถึงตอนนี้ก็ถือว่าครบถ้วนสำหรับการนำชม ภาพสลักโดยเฉพาะบริเวณตัวปราสาทประธาน ทั้งภายนอกและภายในครับ แต่ยังไม่หมดครับ สำหรับทับหลังที่พบที่ปราสาทโบราณแห่งนี้ ยังมีอีกหลายชิ้นที่น่าสนใจ แต่ไม่อาจระบุตำแหน่งได้ว่าเคยประดับอยู่ที่ไหน บริเวณใด บางชิ้นถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย ตอนหน้า เราจะตามไปดูกันครับ



                


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น